วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง

บทที่ ๒
อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
แนวคิด
อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา อ่านเพิ่มเติม

มหาชาติหรือมหาเวศสันดรชาดก


มหาชาติหรือมหาเวศสันดรชาดก
ความเป็นมา
พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมี นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และร้อยแก้ว รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับ อ่านเพิ่มเติม

เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์


เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์

ความเป็นมา

  เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6 ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง

แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์

โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  อ่านเพิ่มเติม

 

เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ความเป็นมา
         บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติผู้แต่ง
     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์ อ่านเพิ่มเติม

 

เรื่องหัวใจชายหนุ่ม


เรื่องหัวใจชายหนุ่ม

๑.ความเป็นมา

                หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติเพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิตเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน อ่านเพิ่มเติม

 

 

เรื่อง นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)


เรื่อง นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)

ความเป็นมา

            นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ

                 ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษา อ่านเพิ่มเติม

นิทานพันหนึ่งราตรี


นิทานพันหนึ่งราตรี

 พันหนึ่งราตรีหรือที่บางคนอาจรู้จักกันในชื่อ อาหรับราตรีเป็นชุดเทพนิยายและนิทานพื้นบ้านในแถบตะวันออกกลางไปจนถึงเอเชียใต้ ถูกรวบรวมขึ้นเป็นภาษาอารบิคในช่วงยุคทองของอิสลาม (ประมาณกลางศตวรรษที่ 7 ถึงกลางศตวรรษที่ 13) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เชื่อกันว่าดินแดนในแถบนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านการค้าและศิลปวิทยาการ ทำให้มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาในดินแดนแห่งนี้มากมายหลากหลายเชื้อชาติ แต่ละเชื้อชาติที่เดินทางเข้ามาก็จะมีการเล่านิทานพื้นบ้านรวมถึงการเดินทางของตนให้ชาวบ้านแถบนี้ฟัง จนเกิดเป็นนิทานที่เล่ากันแบบปากต่อปากเป็นภาษาอารบิคชื่อว่าอัลฟ เลย์ลา วาเลย์ลา (ALF LAYLA wa-LAYLA) ในที่สุด  อ่านเพิ่มเติม